![](https://static.wixstatic.com/media/ea9561_4a67d2259d814a7b9ae9677f20dfa92b~mv2.png/v1/fill/w_272,h_247,al_c,q_85,enc_auto/ea9561_4a67d2259d814a7b9ae9677f20dfa92b~mv2.png)
Façade
façade อ่านว่า ฟะซาด: มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “ส่วนหน้า” หรือ “ใบหน้า” ในทางสถาปัตยกรรม หมายถึงส่วนด้านหน้าอาคาร เป็นมุมมองที่สำคัญที่สุดในการออกแบบเนื่องจากเป็นส่วนที่กำหนดรูปแบบลักษณะส่วนที่เหลือของอาคาร และในทางวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ด้านหน้าของอาคารก็ยังมีความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์พลังงาน[1]ทั้งนี้ระเบียบและกฎหมายท้องถิ่นเกี่ยวกับผังเมืองในอดีตจำกัดหรือแม้กระทั่งไม่อนุญาตให้มีการออกแบบด้านหน้าอาคารแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้[2] การออกแบบ Façade ที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไปมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานและการบำรุงรักษา ดังต่อไปนี้
1. Building from Façade
2. Double-Skin Façade
1. Building From Façade
เป็นการออกแบบ และตกแต่งอาคารให้อยู่ในระดาบเดียว มีการออกแบบให้มีส่วนตื้น-ลึก เพื่อสร้างแสงและเงา ทำให้อาคารดูมีมิติ อีกทั้งยังเป็นการไล่ระดับแสงเงา ให้กับตัวอาคารไปในตัวอีกด้วย สร้างความงดงาม และมีเสน่ห์ให้กับตัวอาคาร ด้วยแสงอันเกิดจากธรรมชาติ ที่เคลื่อนตัวตามแสงตะวัน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน จึงทำให้อาคารดูอบอุ่นและมีชีวิต
วัสดุที่นำมาติดตั้ง ประกอบไปด้วย
1. Fiber Cement Board
2. Fiber Glass Fiber
3. PlasWood
4. Ceramic
1.Fiber Cement Board
เป็นการติดตั้งด้วยการ
2. Double-Skin Façade
เป็นการออกแบบ และตกแต่งอาคาร ในรูปแบบหุ้มเปลือกอาคารภายนอกโดยมีการ Double wall เว้นระยะจากผนังออกมาประมาณ 10 ซม. มีทั้งแบบทึบแสง โปร่งแสง หรือเจาะรู เป็นการป้องกันแสงแดด และลดอุณหภูมิความร้อนจากภายนอก ได้เป็นอย่างดี Façade แบบผนังสองชั้นจะยึดติดกับโครงสร้างหลัก ด้วยเหล็กฉาก หรือฉากอะลูมิเนียม ยึดเข้ากับวัสดุ Façade ที่นำมาติดตั้งอีกชั้น สามารถยึดได้กับแผ่น Aluminium Composite Panel, Checker Plate, แผ่นArylic, กระจก เป็นต้น
ประโยชน์ของ Façade
1. สร้างความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ( Contemporary)
2. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดโลกร้อน
3. สร้างความสมดุลของพื้นที่อาคาร ทั้งพื้นที่ภายในอาคาร และพื้นที่ภายนอกอาคาร
ปัจจุบันแผ่น Aluminium Composite Panel ได้รับความนิยม เป็นอย่างมากในการที่สถาปนิก และนักออกแบบ ได้เลือกใช้แผ่น Aluminium Composite Panel เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่นอยู่หลายอย่างเช่น
1. ทนทาน
2. สวยงาม โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
3. สถาปัตยกรรม ร่วมสมัย ( Contemporary)
4. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5. ทนไฟและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
6. ทนทาน
7. มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม
8. ติดตั้งง่าย
9. ดูแลรักษาง่าย
การเลือกใช้แผ่น Aluminium Composite Panel นั้นมีข้อดีอยู่หลายประการดังที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น จึงทำให้สถาปนิกและวิศวกร มีความเชื่อมั่นในตัววัสดุแผ่น Aluminium Composite Panel สามารถตอบสนองความต้องการของสถาปนิกและวิศวกร ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้เกิดการเลือกใช้ แผ่น Aluminium Composite Panel ใช้ในการหุ้มตัวอาคารทั้ง ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย
การติดตั้งของแผ่น Aluminium Composite Panel
ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. การขึ้นโครงสร้างเหล็กรับแผ่น Aluminium Composite Panel
2. การติดแผ่น Aluminium Composite Panel
3. การลอกฟิล์มกันรอย
ข้อควรระวังของแผ่น Aluminium Composite Panel
1. การตัด
2. การพับ
3. การขึ้นรูปแผ่น
4. การติดตั้ง
5. การลอกฟิล์มกันรอย เป็นต้น
ในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ต้องทำด้วยความระมัด ระวัง ประณีต เพื่อไม่ให้เกิดความเสียแก่แผ่นได้ จะทำให้งานล่าช้า และเสียเวลาในการส่งมอบงานต่อไป
[1] Boswell, Keith. "Exterior Building Enclosures". John Wiley & sons, Inc, 2013, p. 11
[2] https://th.wikipedia.org/wiki เข้าถึง 26 มี.ค.67
Comments